รายชื่อสมาชิก
1. อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค อ.ปาล์ม
2. นาย ปรินทร์ ผุดผ่อง บอล
3. นาย กฤษกร สุวรรณวงศ์ เอฟ
4. นาย จตุพงศ์ ณ สงขลา พี่พงศ์
5. นาย จิรกิตต์ สุขเกษม บอย
6. นาย ชัยยงค์ ชูแก้ว ปั๊ม
7. นาย เชิดชาย เรืองฤทธิ์ ชาย
8. นาย ตวิษ เพ็งศรี บ่าว
9. นาย ธีรวุฒิ ศรีสวัสดิ์ วุฒิ
10. นาย นพรัตน์ แก้วกำเหนิด เอ็กซ์
11. นาย นันทปรีชา ปิยะบุญสนอง โปร
12. นาย นิรันดร์ เสมอพบ แบ
13. นาย นิโรจน์ หวันปรัตน์ ซอล
14. นาย ปภังกร์ เอียดจุ้ย กิ๊ฟ
15. นาย พิชชากร มีบัว กร
16. นาย พีระพงศ์ จันทร์ชู พงศ์
17. นาย ภาคภูมิ จุลนวล เจ
18. นางสาว เยาวเรศ ร่วมพรภาณุ โรส
19. นาย รชต อารี รอน
20. นาย รุสดี วาลี ซี
21. นาย วงศธร อินทมะโน พี่หมีด
22. นาย วสุ ราชสีห์ หนัง
23. นาย วัชรินทร์ เขียนวารี ปอนด์
24. นาย วิฆเนศ ณ รังษี หมู
25. นาย วิโรจน์ เหมมาน ลิฟ
26. นาย ศุภวัฒน์ ไชยของพรม รุส
27. นาย สมประสงค์ วงศ์สุวรรณ ทู
28. นาย สมศักดิ์ มากเอียด กล้วย
29. นาย สราวุฒิ เกบหมีน ซอล
30. นาย สานิต มิตสุวรรณ ปอ
31. นาย สุรเดช สม่าแห ยา
32. นาย สุรศักดิ์ สะเกษ โจ้
33. นาย เสะมาดี ตูแวดาแม ดี
43. นาย อนิรุตต์ ภาระบุญ โต๋
35. นาย อนุพงษ์ เทพพรหม ทิว
36. นาย อภิเดช ทองอินทร์ โหนด
37. นาย อภิวัฒน์ เจิมขวัญ กุ้ง
38. นาย อภิสิทธ์ ยะโกบ ดุล
39. นาย อับดุลรอมัน บูกา
40. นาย อาคม เรืองกูล แบงค์
41. นาย อาจณรรงค์ ราชูภิมนต์ มิด
42. นาย อานนท์ นาควิเชียร นนท์
43. นาย อาลียะ สะอุ ฟาน
44. นาย อาหามะซุบฮี จะแน มะ
45. นาย อิสมาแอ มะยี
46. นาย จตุรงค์ หิรัญกูล นิว
47. นาย เกรียงศักดิ์ บุญประเสริฐ เบียร์
48. นาย พุฒิพงศ์ หนูทอง เพรช
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ parin phutphong
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบสตาร์ 014
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุดศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ
ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน
การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
โทโปโลยีแบบดาว (Star) มีหลักการส่งและรับข้อมูล
เหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง
(Center
Computer) ลักษณะการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว
(STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย
ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดทั้งภายใน นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย
การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้
จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล
แบบ Star การเชื่อมต่อแบบสตาร์นี้จะใช้อุปกรณ์
Hub เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ โดยที่ทุกเครื่องจะต้องผ่าน Hub สายเคเบิ้ลที่ใช้ส่วนมากจะเป้น UTP และ Fiber
Optic ในการส่งข้อมูล Hub จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ
(Repeater) ปัจจุบันมีการใช้ Switch เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อซึ่งมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า
ข้อดีของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์
(Star
Network)
1.เครือข่ายแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียวทำให้ง่ายในการติดตั้งหรือจัดการกับระบบ
2.จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น
เมื่อ เกิดการเสียหายของจุดใช้งานใดใน
จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของจุดอื่น ๆ
ข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสตาร์
(Star
Network)
1.เนื่องจากแต่ละจุดจะต่อโดยตรงกับโฮสต์คอมพิวเตอร์
ดังนั้นจึงต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. การเพิ่มจุดใหม่เข้าในระบบจะต้องเดินสายจากโฮสต์คอมพิวเตอร์ออกมา
ทำให้การขยายระบบทำได้ยาก
3.การทำงานขึ้นอยู่กับโฮสต์คอมพิวเตอร์ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายขึ้นก็จะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้
ลักษณะการเชื่อมต่อของโครงสร้างแบบสตาร์นี้
ดูไปแล้วจะคล้ายๆ ดาวกระจาย คือจะมีอุปกรณ์เช่น ฮับ หรือสวิทช์ เป็นศูนย์กลาง ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้มีประโยชน์คือ
ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดหรือเสียก็จะไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบ นอกจากนี้ถ้าหากเราเพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปอีกในเครือข่ายก็สามารถทำได้ทันที
การต่อแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางคือ ฮับ/สวิทช์
ราคาได้ถูกลงอย่างมากแล้วในขณะที่ประสิทธิภาพก็ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เป็นการเชื่อมต่อจากศูนย์กลางทำให้มีโอกาสที่ระบบเครือข่ายจะล้มเหลวพร้อมกันได้ง่าย
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร 014
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
(Information Technology)
ข้อมูล (Data)
มีความหมายแตกต่างจากสารสนเทศ (Information) หรือสารนิเทศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525
ได้ให้คำจำกัดความคำว่า
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือ
หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณ
ข้อมูลจึงมักมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw Data)
เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์การกระทำหรือลักษณะต่างๆ
ของวัตถุ สิ่งของ คน สัตว์หรือพืชแล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง
สารสนเทศ
(Information) หมายถึงข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw Data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึงข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที (วาสนา
สุขกระสานติ 2541: 6-1)
เทคโนโลยี หมายถึง
วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2539: 406)
เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษว่า
Information
Technology และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า IT ซึ่งสุชาดา กีรนันท์ (2541: 23) ให้ความหมายว่า
หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมในกระบวนการจัดเก็บ สร้าง
และสื่อสารสนเทศ (วาสนา สุขกระสานติ 2541:
6-1) กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า
หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ ลูคัส (Lucas,
Jr. 1997: 7) กล่าวว่า
เทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผลจัดเก็บ
และส่งผ่านสารนิเทศต่างๆ ให้อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักสองสาขา คือ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม โดยทั่วไปหมายถึง
เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสร้าง การจัดการ การประมวลผลข้อมูลให้เป็นข้อสนเทศ
การเก็บบันทึกข้อมูลเป็นฐานข้อมูล และส่งผ่านสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ตลอดจนเทคโนโลยีทั้งหลายที่เกี่ยวเนื่องกบการแสดงสารสนเทศโดยใช้ระบบดิจิตอล
(ชุนเทียม ทินกฤต, 2540)
การสื่อสาร คือกระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร
รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส
ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัส
การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี อาจเป็น วิทยุ โทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม
ระบบโทรคมนาคม หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท ก็ได้
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับเทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(Information
and Communication Technologies –ICT) เกิดจาก
การทำงานส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่สมบูรณ์
ถูกต้อง รวดเร็ว ตามความต้องการของผู้ใช้งาน
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย
พ.ศ. 2545-2549 ได้กำหนดความหมายของ ICT ดังนี้
“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร
ขอมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะหหรือประมวลผลการรับและสงขอมูล การจัดเก็บ และการนําไปใชงานใหม เทคโนโลยีเหลานี้
มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร ซึ่งประกอบดวยสวนอุปกรณ (hardware) สวนคําสั่ง
(software) และสวนขอมูล
(data) และระบบการสื่อสารตางๆ ไมวาจะเปนโทรศัพท์
ระบบสื่อสารขอมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ
ทั้งมีสายและไรสาย”
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต
ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น
สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1. ความเร็ว การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล
เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2. ความถูกต้อง
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ
ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วยมนุษย์
3. การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
4. การเผยแพร่ข้อมูล
การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
จากจุดเริ่มแรกทำให้มีการใช้บริการด้านการสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเว็บไซต์เพื่อการพาณิชย์ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เห็นได้ง่าย ๆ จากการเปลี่ยนแปลงจากการสื่อสารแบบอนาล็อกเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายดิจิทัล ทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น และส่งข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก ลดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งสามารถส่งสารสนเทศทั้งที่เป็นข้อมูลประเภท เสียง และวิดีโอ ไปพร้อม ๆ กัน อีกทั้งการใช้ดาวเทียมสื่อสารทำให้สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงข้ามซีกโลกได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งการใช้เซลลูลาห์หรือเครือข่ายไร้สายอื่น ๆ นับว่าเป็นการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการใช้อุปกรณ์แบบพกพาแบบต่าง ๆ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ส่วนแสดง
องค์ประกอบการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดข้อมูล หรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับข้อมูลที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ดำเนินการต่อไป เช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Massage) เป็นตัวเนื้อหาของข้อมูล ซึ่งมีได้หลายรูปแบบดังนี้ คือ
- ข้อความ (Text) ข้อมูลที่อยู่ในรูปอักขระ หรือเอกสาร เช่น ข้อความในหนังสือ เป็นต้น
- เสียง (Voice) ข้อมูลเสียงที่แหล่งต้นทางสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นเสียงที่มนุษย์หรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นตัวสร้างก็ได้
- รูปภาพ (Image) เป็นข้อมูลที่ไม่เหมือนข้อความตัวอักษรที่เรียงติดต่อกัน แต่จะมีลักษณะเหมือนรูปภาพ เช่น การสแกนภาพเข้าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลรูปภาพกับข้อมูลข้อความ แล้วรูปภาพจะมีขนาดใหญ่กว่า
- สื่อผสม (Multimedia) ข้อมูลที่ผสมลักษณะของทั้งรูปภาพ เสียงและข้อความเข้าด้วยกัน โดยสามารถเคลื่อนไหวได้ เช่น การเรียนผ่านระบบ VDO conference เป็นต้น โดยข้อมูลจะมีขนาดใหญ่มาก
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณ เช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
บทวิเคาระห์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารมีการพัฒนาขึ้นในประเทศ ทำให้ส่งผลตามมาอีกมากมาย การติดต่อสือสารในปัจจุบัน มีความก้าวหน้าเจริญเติมโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีประเภทนี้สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายทั้งในด้านการศึกษา การติดต่อทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมไปถึงในงานภาครัฐบาลและเอกชน ล้วนแต่ต้องใช้การสื่อสารมาประกอบอาชีพทั้งหมด การสือสารที่เป็นตัวเด่นที่เข้าถึงประชาชนได้เกือบทุกที่ทุกคน ก็คือโทรศัพท์มือถือ ประชากรส่วนใหญ่เลื่อกใช้โทรศัพท์มือถือในการสือสารเพราะเห็นว่าใช้งานได้ง่าย สะดวก ติดต่อได้ข้อมูลข่าวสารโดยตรง รวดเร็ว และอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกันเป็นเทคโนโลยีที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย ปัจจุบันจะเห็นได้ชัดการใช้ facebook เป็นทางเลือกของมนุษย์ที่ใช้ติดต่อสือสารกันการแชร์ข่าวสาร การส่งผ่านข้อมูล กันและกันเมื่อมีเทคโนโลยีในประเทศ การทำงานย่อมสะดวกขึ้นแน่นอน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างสะดวก การติดต่อค้าขายเจรจากันย่อมส่งผลดีมากขึ้น ประเทศไหนที่มีเทคโนโลยีมาก
ประเทศนั้นก็จะพัฒนามากเช่นเดียวกัน การมีเทคโนโลยีสมัยใหม่จะส่งผลให้ผลประเทศมีการค้าการลงทุนการส่งออกนั้นเป็นผลดีของประเทศ
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาปัญหาก็ล้วนแต่มีเหตุผลเกิดขึ้นทั้งในด้านบวกด้านลบ
เทคโนโลยีในด้านบวก เป็นการส่งเสริมพัฒนาการค้าการลงทุนการติดต่อที่สะดวกขึ้น การเข้าถึงของพี่น้องประชนชนก็มีมากขึ้น การติดต่อข่าวสารซึ่งกันและกันก็รวดเร็ว เด็กที่อยู่ห่างไกลก็จะเข้าถึงข่าวสาร แหลงข่าวมากขึ้น
เทคโนโลยีด้านลบ ในเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเราก็หนีปัญหาที่เกิดขึ้นมามากมายไม่ได้เช่นเดียวกัน การที่นำเทคโนโลยีไปใช้ในสิ่งที่ผิดๆ การทำมิดีมิร้าย การติดต่อเพื่อการหลอกลวง การติดต่อการค้าในด้านผิดกฎหมายของประเทศชาติ
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นาย ปรินทร์ ผุดผ่อง
ชื่อเล่น บอล
ที่อยู่ 43/1 หมู่ที่5 อำเภอ สทิงพระ จังหวัด สงขลา 90190
เบอร์โทร 082-4346067
ชื่อเล่น บอล
ที่อยู่ 43/1 หมู่ที่5 อำเภอ สทิงพระ จังหวัด สงขลา 90190
เบอร์โทร 082-4346067
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)